วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทฤษฎีจิตสังคม (Erikson) ขั้น 1 และ ขั้น 2



       
  อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ และถือว่า เป็นวิวัฒนาการที่จะต้องมีอุปสรรค คนอาจจะพบประสบการณ์ที่ไม่ปรารถนา และทำให้เป็นแผลหรือรอยร้าวของพัฒนาการของบุคลิกภาพตามแต่ละขั้นของชีวิต ซึ่งเป็นธรรมชาติของคนแต่ก็สามารถรักษาบาดแผลที่เกิดขึ้นให้หายไปโดยการบำบัดของตนเอง อีริคสัน เป็น Nero – Freudian ได้เรียกทฤษฎีของเขาว่าเป็นทฤษฎีจิตสังคม(Psychosocial  Theory)  ซึ่งได้แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ออกเป็น 8

ขั้นขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น ผู้เลี้ยงจะดูจะต้องสนองความต้องการของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กมีความหวังว่าเวลาหิวจะมีคนให้นม เวลาที่ผ้าอ้อมเปียกจะมีคนเปลี่ยนให้ เด็กจะอยู่ด้วยความหวังว่าจะมีผู้ช่วยเหลือทุกครั้งที่ตนมีความต้องการ นอกจากเชื่อในตนเองว่ามีความหวัง พ่อแม่ คนเลี้ยง จะมาช่วยสนองความต้องการของต้นแล้ว เด็กยังเชื่อในตนเองว่ามีความสามารถที่จะใช้อวัยวะของตนเอง เป็นต้นว่า สามารถจะหาหัวนมและคว้ามาดูดได้ อิริคสันได้กล่าวว่าความไว้วางใจเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ เด็กที่ขาดความไว้วางใจเป็นคนที่ชอบก้าวร้าว ตีตัวออกจากสิ่งแวดล้อม บางกรณีถึงกับเป็นโรคจิต ที่เรียกว่า Childhood Schizophrenic

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วย ให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจ ว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ฉะนั้นเด็กวัยนี้เริ่มจะเรียนรู้พฤติกรรมหลายอย่างที่กำหนดโดยสังคม ฉะนั้น พ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูจะต้องรักษาความสมดุล ช่วยให้เด็กเป็นอิสระพึ่งตนเอง โดยต้องเป็นผู้ที่รู้จักคำพูดอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งไหนทำได้ทำไม่ได้ พยายามเลี่ยงการดุเด็กเวลาทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่บางครั้งจำเป็นให้เด็กมีความอาย (Shame) และการสงสัยตัวเองว่าทำไม่ถูก (Doubt) เพราะเป็นสิ่งสำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เพราะว่าทุกคนจะต้องมีละอายใจ ไม่กล้าทำสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ ควรจะเน้นที่การให้โอกาสเด็กพึ่งตนเอง มีความเป็นอิสระทำอะไรด้วยตนเอง มากกว่าการมีความรู้สึกอายและสงสัยในตัวเอง